น้ำท่วมภาคอีสานในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนที่ผ่านมา เป็นความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนคือ “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ทุกภาคส่วนพร้อมร่วมแรงกายแรงใจอย่างไม่ดูดาย
บทพิสูจน์เมื่อมูลนิธิซี.ซี.เอฟ.เพื่อเด็กและเยาวชน เปิดรับความช่วยเหลือสำหรับเด็กและครอบครัวในความอุปการะของโครงการพื้นที่จังหวัดยโสธร อุบลราชธานี อำนาจเจริญและมุกดาหาร ธารน้ำใจหลั่งไหลช่วยครอบครัวเด็กที่ประสบภัยถึง 1,884,515.42 บาท
การช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบภัย
หากไม่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมภาคอีสานในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประสบภัยหลายพันครัวเรือนจะต้องมีรายได้ มีข้าวและพืชผลเก็บไว้กินทั้งปี ด้วยขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต(ข้าว)จากการทำนา และพืชผลทาง การเกษตรบางประเภท
ดังนั้น แผนดำเนินการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยต่อจากแผนบรรเทาทุกข์แบบเร่งด่วนเฉพาะกิจช่วงน้ำท่วม โดยส่งมอบถุงยังชีพ ข้าวสาร ผ้าห่ม มุ้ง และยารักษาโรค คือ การทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ตามความจำเป็นเพื่อสอดรับกับปัญหา เน้นที่สนับสนุนปัจจัยในการประกอบอาชีพเบื้องต้นให้กับครอบครัว ช่วยเหลือด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สร้างแหล่งอาหารของครอบครัว และมีการสร้างรายได้จากพืชเศรษฐกิจในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
รวมถึงสนับสนุนพันธุ์ข้าวสามารถปลูกได้ดีในภาคอีสาน มีคุณสมบัติเฉพาะที่ทั้งหอม นุ่ม เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และสำคัญจำหน่ายได้ราคาสูงอย่าง “ข้าวหอมมะลิ 105” ให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน สำหรับการทำนาปี
ระยะเวลาดำเนินงาน (ต.ค.62-มิ.ย 63)
และเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ตลอดจนคณะกรรมการกลุ่มต่างๆให้มีความเข้มแข็งพร้อมจะบริหารจัดการกลุ่มของตนเองได้ แผนการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้สบภัยจะยังคงดำเนินต่อบนหลักคิด เสริมสร้างชีวิต ความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน
นอกจากนัั้น เพื่อให้กระบวนการความช่วยเหลือก่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กและครอบครัวผู้ประสบภัย ทุกโครงการที่รับเงินช่วยเหลือต้องรายงานผลคืบหน้าทุกเดือน เพื่อสรุปบทเรียนต่อไป