ข่าวประชาสัมพันธ์

“ข้าวทิพย์” วิถีฅนลีซู จ.เชียงราย

“ข้าวทิพย์” วิถีฅนลีซู จ.เชียงราย

ลีซอ หรือ ลีซู คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม ส่วนคำว่า“ซู” แปลว่า “คน” ดังนั้น “ลีซู” จึงมีความหมายว่า “ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต” ชาวลีซูมีต้นกำเนิดอยู่ที่ต้นน้ำสาละวินและแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบตในมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเริ่มอพยพเข้าประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464

ชาวลีซู แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ลีซูลายและลีซูดำ ชาวลีซูส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นลีซูลาย ซึ่งกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัยและลำปาง

ประเพณี “ข้าวทิพย์” วิถีแห่งข้าวกับกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู มีความผูกพันกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเชื่อว่าการกินข้าวใหม่ “จย่า วู่ จย๋า” ในเดือนข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง (ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ ต่อบุพการี ต่อเทพยาดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวล ที่ช่วยปกปักรักษาพืชผลทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตดี โดยหลังการประกอบพิธีกินข้าวใหม่ชาวบ้านจึงจะนำข้าวไปแบ่งปันผู้อื่นหรือจัดจำหน่ายได้

นายสุพจน์ หลี่จา ผู้นำชาวบ้าน บ้านปางสา อ.แม่จัน เล่าให้ฟังว่า “ข้าวคำแรก มื้อแรก” ความหมายเปรียบได้ถึงการต่อชีวิตและการดำรงอยู่ของชาวลีซูที่ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอาหาร มนุษย์และสัตว์ ล้วนต้องอาศัยเกื้อกูลกัน ทุกสิ่งมีความสัมพันธ์กันและไม่อาจแยกจากกันได้ แม้ว่าปัจจุบันยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่ทันสมัย ค่านิยมใหม่จะเข้ามามีบทบาทในชุมชน ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ชุมชนบ้านปางสาจัดประเพณีกินข้าวใหม่ทุก ๆ ปี ยังคงรักษาอัตลักษณ์ประเพณีอันดีงามของตนเองให้เด็กและเยาวชนได้ซึมซับประเพณีดีงามที่ส่งต่อจากบรรพบุรุษถึงรุ่นสู่รุ่นจนถึงทุกวันนี้

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. ฯ

เผยแพร่เมื่อ : 6 กันยายน 2567


ร่วมสนับสนุนเงินบริจาค

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. ฯ
#มูลนิธิซีซีเอฟ #CCF


ร่วมบริจาคช่วยเหลือเด็ก

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร

ข้อมูลของท่านจะถูกจัดเก็บรักษาความปลอดภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

English

ร่วมบริจาคช่วยเหลือเด็ก