ข่าวประชาสัมพันธ์

“เด็กยโส” รวมพลังหยุดความรุนแรง

“เด็กยโส” รวมพลังหยุดความรุนแรง

"ไม่ทน! ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ต้องหมดไป!"
"ยุติความรุนแรง เริ่มจากการไม่ยอมทน!"

“ไม่ใช่เพียงแค่วันนี้ที่เด็กจะไม่ถูกทำร้าย แต่ขอเป็นทุก ๆ วันของชีวิตที่เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะปลอดภัย”

ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเป็นปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อผู้ถูกกระทำและสังคมโดยรวม ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่บาดเจ็บทางกาย แต่ยังรวมถึงบาดแผลทางใจที่อาจตามมาตลอดชีวิต เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า และความไม่ไว้วางใจผู้อื่น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและโอกาสในการพัฒนาตนเองของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ นอกจากนี้ ความรุนแรงยังส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เช่น การสูญเสียทรัพยากรบุคคล ค่าใช้จ่ายทางสังคม และการสร้างวงจรความรุนแรงซ้ำซาก การยุติความรุนแรงจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกัน

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ พื้นที่ดำเนินงานจังหวัดยโสธร จัดกิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน ภายชื่อโครงการ “คิดเป็น คิดดี มีภูมิ เรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก สื่อออนไลน์ ฉลาดรู้เรื่องเพศ และกิจกรรมเรียนรู้เรื่องยาเสพติด” ซึ่งในปีนี้ เน้นให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งกำลังแพร่ระบาดอยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทั้งเพศชายและเพศหญิง หลังจากเรียนรู้กิจกรรมฐาน Walk Rally แล้วพี่ได้เล่าถึงสถานการณ์เรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งผู้ถูกกระทำมักจะเป็น เด็กและผู้หญิงหรือคนในครอบครัว ซึ่งในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี จึงมีกิจกรรมรณรงค์ ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และคนในครอบครัว เด็ก ๆ จึงช่วยกันหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต และช่วยกันทำป้ายรณรงค์ เพื่อสื่อถึงผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สุภาพบุรุษ” ให้หยุดทำร้ายร่างกายของคนในครอบครัว เพราะเด็กทุกคน ผู้หญิงทุกคน ต่างก็หวาดกลัวการถูกทำร้ายร่างกาย กลัวที่จะถูกทำร้ายอีก กลัวที่จะโดนลงโทษ กลัวที่จะบอกใคร และอับอายที่ต้องเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ และต้องการที่จะมีชีวิตที่มีความสุข มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าในสังคม

นอกจากนี้เด็ก ๆ ได้ช่วยกันออกแบบสื่อแทนเสียงร้องขอการช่วยเหลือเด็กในกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี เช่น "หนูอยากให้ทุกอย่างจบลง", "เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปลอดภัย" เป็นต้น

"หยุด! ความรุนแรง ไม่ให้ที่ยืนในสังคม!"
"ไม่ทน! ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ต้องหมดไป!"
"ความเงียบไม่มีค่า เมื่อความรุนแรงทำลายชีวิต!"
"ยุติความรุนแรง เริ่มจากการไม่ยอมทน!"

กลัว : กลัวที่จะถูกทำร้ายอีก กลัวที่จะโดนลงโทษ กลัวที่จะบอกใคร
เหงา : รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีใครช่วยเหลือ
ผิดหวัง : ผิดหวังกับคนที่ตนรักและไว้ใจ
โกรธ : โกรธคนที่ทำร้าย โกรธตัวเองที่ทำอะไรไม่ได้
เสียใจ : เสียใจที่ต้องเจอกับเรื่องแบบนี้
อับอาย : อับอายที่ต้องเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ
สับสน : ไม่รู้ว่าตัวเองผิดหรือถูก
หมดหวัง : รู้สึกว่าไม่มีอนาคตที่ดี

สโลแกนที่สื่อถึงความรู้สึกของเด็ก :

"หนูกลัว...หนูเจ็บ...ทำไมต้องเป็นหนู" สื่อถึงความรู้สึกกลัวและเจ็บปวดของเด็ก
"ไม่มีใครเข้าใจหนูเลย"  สื่อถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวและต้องการความเข้าใจ
"หนูผิดอะไร ทำไมต้องทำร้ายหนู" สื่อถึงความรู้สึกไม่เป็นธรรมและความสับสน
"หนูอยากให้ทุกอย่างจบลง" สื่อถึงความรู้สึกหมดหวังและต้องการหนีจากปัญหา
"ช่วยหนูด้วย" สื่อถึงเสียงร้องขอความช่วยเหลือที่เงียบ ๆ ของเด็ก

สโลแกนที่กระตุ้นให้ผู้ใหญ่ตระหนักถึงปัญหา :

"อย่าปล่อยให้ความเงียบฆ่าเด็ก"
"เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปลอดภัย"
"เห็นความรุนแรงต่อเด็ก แจ้งได้เลย"
"อย่าเมินเฉยต่อความเจ็บปวดของเด็ก"
"สร้างโลกที่ปลอดภัยสำหรับเด็กทุกคน"

แนวคิดในการสร้างสโลแกน :

ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย : เด็ก ๆ จะได้เข้าใจความหมายได้ง่าย
เน้นความรู้สึก : สื่อถึงความรู้สึกของเด็กให้ชัดเจน
กระตุ้นให้เกิดการตระหนัก : ทำให้ผู้ใหญ่เห็นถึงความสำคัญของปัญหา
สร้างแรงบันดาลใจ : กระตุ้นให้ผู้คนอยากเข้ามาช่วยเหลือ

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ

เผยแพร่เมื่อ : 27 พฤศจิกายน 2567


ร่วมสนับสนุนเงินบริจาค

บริจาคออนไลน์
#มูลนิธิซีซีเอฟ #CCF


ร่วมบริจาคช่วยเหลือเด็ก

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสาร

ข้อมูลของท่านจะถูกจัดเก็บรักษาความปลอดภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

English

ร่วมบริจาคช่วยเหลือเด็ก